Ozempic® (Semaglutide) มี อย.ไทย ตรวจสอบได้

฿9,900.00

🛒 สั่งซื้อสินค้า

ข้อมูลทั่วไปของยา

  • ชื่อทั่วไป (Generic name): Semaglutide
  • ชื่อทางการค้า (Trade name):Ozempic ® บริษัทผู้ผลิต (Manufacture):NOVO NORDISK A/S
  • ลักษณะรูปแบบของยาและขนาดบรรจุ (Dosage form/Strength): เป็น solutions for injections หรือ infusions โดยมี 3 ขนาด 0.25 mg, 0.5 mg และ 1 mg บรรจุใน pre-filled pen

ปากกาลดน้ำหนัก ลดความอ้วน Ozempic Semaglutide

  • ขนาดและการบริหารยา (Dosage and administration) :

ฉีดยาใต้ผิวหนัง ขนาดยาเริ่มต้น  0.25 mg สัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 4 สัปดาห์  แล้วให้เพิ่มขนาดยาเป็น 0.5 mg สัปดาห์ละครั้ง อย่างน้อย 4 สัปดาห์ สามารถเพิ่มขนาดยาเป็น 1 mg สัปดาห์ละครั้ง โดยขนาดยาสูงสุดที่แนะนำคือ 1 mg สัปดาห์ละครั้ง ซึ่งการบริหารยาสัปดาห์ละครั้ง ควรได้รับในวันและเวลาเดียวกันในแต่ละสัปดาห์ และมื้ออาหารไม่มีผลต่อยา หากจำเป็นต้องเปลี่ยนวันในการบริหารยาสามารถเปลี่ยนวันได้โดยให้บริหารยาห่างจากการบริหารยาก่อนหน้าอย่างน้อย 2 ชั่วโมง  หากลืมบริหารยาไม่เกิน 5 วัน ให้บริหารยาทันทีที่นึกขึ้นได้ ถ้าหากเกิน 5 วันให้ข้ามรอบนั้นไปและให้บริหารในรอบถัดไปได้ตามปกติโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา

 

  • การปรับขนาดยาตามค่าตับและค่าไต :

    ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยา

 

  • กลไกการออกฤทธิ์ :

ปากกาลดน้ำหนัก ลดความอ้วน Ozempic Semaglutide เป็น GLP-1 analogue ที่มีความคล้ายคลึงกันถึง 94% กับ GLP-1 ของมนุษย์ Semaglutide ทำหน้าที่เป็น GLP-1 receptor agonist ที่จับอย่างจำเพาะและกระตุ้น GLP-1 receptor ซึ่งเป็นเป้าหมาย โดย GLP-1 เป็นฮอร์โมนในร่างกายที่มีหน้าที่หลากหลายในการควบคุมระดับน้ำตาล ความอยากอาหาร และระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยการควบคุมระดับน้ำตาลและความอยากอาหารจำเป็นต้องกระตุ้นผ่าน GLP-1 receptor ในตับอ่อนและสมอง ซึ่ง Semaglutide ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยชักนำให้มีการหลั่งอินซูลินที่ตอบสนองต่อระดับกลูโคสที่สูงขึ้น (glucose-dependent insulin secretion) และลดการหลั่งกลูคากอนเมื่อน้ำตาลในเลือดสูง กลไกของการลดระดับน้ำตาลในเลือดยังเกี่ยวข้องกับที่ยาช่วยยืดเวลาที่ทำให้กระเพาะอาหารว่างนานขึ้นหลังรับประทานอาหาร และยังช่วยลดน้ำหนักตัวและมวลไขมันในร่างกายผ่านการบริโภคพลังงานที่ลดลง ซึ่งเกี่ยวข้องกับความอยากอาหารลดลงโดยรวม นอกจากนี้์ยังช่วยลดความชอบอาหารที่มีไขมันสูง GLP-1 receptors ยังพบในหัวใจ หลอดเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน และไต ดังนั้น Semaglutide จึงมีผลดีต่อไขมันในพลาสมา ลดความดันโลหิตซิสโตลิกและลดการอักเสบในการศึกษาทางคลินิกส่วนในการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าลดการพัฒนาของภาวะหลอดเลือดแข็ง(atherosclerosis)โดยการป้องกันการเกิดคราบพลัคในหลอดเลือดและลดการอักเสบในคราบพลัค

 

  • ข้อบ่งใช้ (Indication) :

ใช้เป็นยาเสริมจากการควบคุมอาหารและออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน (Diabetes mellitus type 2)

 

  • เภสัชจลนศาสตร์ของยา (Pharmacokinetics) :

 

  • ประเภทของยา (Category) : สูตรทางเคมี:C187H291N45O59 , น้ำหนักมวลโมเลกุล:4,114

  • ผลข้างเคียง ของ ปากกาลดน้ำหนัก ลดความอ้วน Ozempic Semaglutide :

ผลข้างเคียงของยา เช่น อาการ คลื่นไส้ 17.0% และ 19.9% ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย Semaglutide ขนาด 0.5 mg และ 1 mg, ท้องเสีย 12.2% และ 13.3% อาเจียน 6.4% และ 8.4%. อาการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงเพียงน้อย-ปานกลางเท่านั้นและเกิดในระยะเวลาสั้นๆ อาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นสาเหตุให้หยุดยา 3.9% และ 5%.โดยอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่มีการรายงานในเดือนแรกของการใช้ยา และจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวน้อยเป็นส่วนใหญ่ Injection site reactions Injection site reactions เช่น rash, erythema มีรายงานการเกิด 0.6% และ 0.5% ในผู้ป่วยที่ได้รับ Semaglutide 0.5 mg และ 1 mg โดยมีความรุนแรงเพียงน้อย-ปานกลางเท่านั้น

 

  • ข้อควรระวัง ของ ปากกาลดน้ำหนัก ลดความอ้วน Ozempic Semaglutide :

อาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร(Gastrointestinal effect)

การใช้ยากลุ่ม GLP-1 receptor agonists อาจเกี่ยวข้องกับผลข้างเคียงที่ทางเดินอาหารได้ ดังนั้นควรพิจารณาปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่ มีภาวะไตบกพร่อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ซึ่งอาจะทาให้เกิดภาวะขาดน้ำอันเป็นสาเหตุให้เกิดการทำงานของไตที่ลดลงได้

 

ตับอ่อนอักเสบ(Acute pancreatitis)

มีรายงานการเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่ม GLP-1 receptor agonists ดังนั้นควรติดตามอาการของผู้ป่วย หากสงสัยการเกิดตับอ่อนอักเสบ ควรพิจารณาหยุดยา หาก Semaglutide เป็นสาเหตุการเกิดจริง ไม่ควรกลับมาใช้ยานี้ และเป็นข้อห้ามใช้สาหรับผู้ป่วยรายนี้

 

ภาวะน้ำตาลต่ำ(Hypoglycemia)

ผู้ป่วยที่ได้รับ Semaglutide ร่วมกันกับ sulfonylurea หรือ insulin จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ โดยความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้าตาลในเลือดต่ำ จะลดลงเมื่อลดขนาดยา sulfonylurea หรือ insulin

 

เบาหวานเข้าจอประสาทตา(Diabetic retinopathy)

ในผู้ป่วยที่มีอาการเบาหวานเข้าจอประสาทตาที่ได้รับการรักษาด้วย insulin และ Semaglutide จะเพิ่มความเสี่ยงในการกาเนินของโรค diabetic retinopathy จึงมีข้อควรระวังการออกกาลังกายเมื่อใช้ยา Semaglutide ร่วมกับ insulinในผู้ป่วย diabetic retinopathy นอกจากนี้ควรมีการติดตามอย่างใกล้ชิดและรักษาตามแนวทางการรักษา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้การดำเนินไปของโรคแย่ลง

 

Sodium content

ตัวยามีส่วนประกอบของโซเดียมน้อยกว่า 1 mmol (23 mg) /dose

 

  • ข้อห้ามใช้ (Contraindication) :

สำหรับผู้ที่มีการแพ้สารที่เป็นส่วนประกอบของตัวยา ได้แก่ Disodium phosphate dihydrate, propylene glycol, phenol, hydrochloric acid (for pH adjustment), sodium hydroxide, water for injections

 

เอกสารอ้างอิง

  1. ข้อมูลยา/ผลิตภัณฑ์สมุนไพร: [Internet]. National Drug Information. 2021 [cited 21 Dec 2021]. Available from: http://ndi.fda.moph.go.th/drug_info/index?name=sema&brand=&rctype=&drugno=
  2. Semaglutide [Internet]. Mims.com. [cited 2021 Dec 21]. Available from: https://www.mims.com/thailand/drug/search?q=Semaglutide
  3. OZEMPIChighlights of prescribing information. [Internet]. 2020 [cited 2021 Dec 21]. Available from: https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2017/209637lbl.pdf
  4. PubChem Compound Summary for CID 56843331, Viread [Internet]. National Center for Biotechnology Information. 2021 [cited 21 Dec 2021]. Available https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Semaglutide
  5. Package Leaflet: Information for the Professional. [Internet]. 2020 [cited 2021 Dec 21] Available from: http://ndi.fda.moph.go.th/uploads/drug_detail_corporation/doc/word/1163/66f9fa773f394ba9e3c9f92a99eac536-a1.pdf
  6. American Diabetes Association. Standards of Medical Care in diabetes 2020. Diabetes Care. 2020;43(Supplement1):S193-S202.
  7. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติส าหรับโรคเบาหวาน 2560 Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017. [Internet]. 2017 [cited 2021 Dec 21] Available from: https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/healthcare-providers/cpg/443-guideline-diabetes-care-2017

Reviews

There are no reviews yet.

Be the first to review “Ozempic® (Semaglutide) มี อย.ไทย ตรวจสอบได้”

Your email address will not be published. Required fields are marked *

หน้าหลัก
List สินค้า
บทความ
Q&As
Scroll to Top